guide to, how to pick child bike seat

คำแนะนำและ วิธีการเลือกที่นั่งเด็กติดจักรยาน :
A guild to pick bike child seat

การได้นั่งจักรยานไปกับพ่อแม่ เป็นการได้รับประสบการณ์ที่พิเศษ เราขอแนะนำการเลือกที่นั่งติดจักรยานสำหรับเด็กให้เหมาะสม และมีความปลอดภัยกับเด็กของเรามากที่สุด

Home / Blog / คำแนะนำและ วิธีการเลือกที่นั่งเด็กติดจักรยาน
Last updated: Friday 9th of November 2018

จักรยานเป็นสิ่งที่สร้างความสุขให้กับเด็กๆ ตั้งแต่เล็กถึงเด็กโต โดยเฉพาะเด็กเล็ก การได้นั่งจักรยานไปกับพ่อแม่นั้นเป็นการได้รับประสบการณ์ที่พิเศษ ประสบการณ์นอกกรอบจากสิ่งที่ได้เห็นเป็นประจำ เด็กจะตื่นตาตื่นใจและเปิดรับสิ่งใหม่ๆรอบตัวได้อย่างดี เป็นช่วงเวลาที่ดีในการพูดคุยและอาจสอนสิ่งต่างๆประกอบกันไปในขณะนั่งจักรยานไปด้วยกัน เราต้องเลือกที่นั่งเด็กติดจักรยาน (child bike seat) ที่เหมาะสมให้กับเด็กตามวัย อายุ และน้ำหนักของเด็ก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กๆเป็นหลักสำคัญที่สุด ซึ่งแต่ละแบบแต่ละรุ่นมีความแตกต่างและคุณภาพที่แตกต่างกัน เราจะขอแนะนำในประเด็นต่างๆที่ควรพิจารณา และแบ่งเป็นขั้นตอน ในการเลือกที่นั่งเด็กติดจักรยานดังต่อไปนี้

**(ข้อมูลที่นั่งเด็กติดจักรยานที่นำมาใช้ในเนื้อหานี้ โดยส่วนมากจะอ้างอิงจากผลิตภัณฑ์จากทางยุโรปและอเมริการเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีการระบุ spec ที่ชัดเจน มีการทดสอบตามมาตรฐานสากล จึงเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่า เพราะเราต้องเห็นถึงความปลอดภัยเป็นหลักในการใช้งานเก้าอี้เด็กติดจักรยาน)

มาประเมินกันก่อน จักรยานของคุณเหมาะที่จะติดที่นั่งเด็กหรือไม่?

การจะที่นั่งเด็กติดจักรยานต้องดูกันก่อนว่า จักรยานคันนั้นสามารถนำมาติดที่นั่งเด็กได้หรือไม่? เพราะไม่สามารถจักรยานมาติดมาติดตั้งได้ทุกคัน หรือติดที่นั่งเด็กได้บางรุ่นหรือบางรูปแบบเท่านั้น เช่นจักรยานกลุ่ม city bike, hybrids และ commuter bikeโดยส่วนมากจะติดตั้งได้ แต่จักรยานเฉพาะทางเช่น road bike (เสือหมอบ), mountain bike มีโช้คกันกระแทก หรือวัสดุตัวเฟรมบางอย่างเช่น carbon fiber ก็อาจไม่ควรนำมาติดตั้ง หรือแอนด์จักรยานบางประเภทก็ไม่เหมาะเช่นกัน ดังนั้นจะต้องประเมินความพร้อมของจักรยานว่าจะเข้ากับที่นั่งเด็กที่ต้องการเลือกใช้หรือไม่

ก่อนอื่นต้องมาดูว่าที่นั่งเด็กประเภทต่างๆมีการติดตั้งเบื่องต้นอย่างไร และต้องการที่จะยึดกับจักรยานอย่างไรบ้าง


1. ประเภทของที่นั่งเด็ก

เราแบ่งที่นั่งเด็กติดจักรยาน ตามตำแหน่งที่ติดคือ ที่นั่งติดด้านหน้า (front mount) และ ที่นั่งติดด้านหลัง (rear mount) ซึ่งแบ่งจากคุณสมบัติการรองรับการใช้งานตามอายุได้ชัดเจน ดังนี้

ที่นั่งเด็กติดตั้งด้านหน้า (front mount)

ที่นั่งเด็กติดตั้งด้านหน้า (front mount) ใช้สำหรับเด็กเล็ก ตั้งแต่อายุ 9 เดือน (นั่งได้และคอแข็งแล้ว) จนถึง 3 ขวบ หรือน้ำหนักไม่เกิน 15kg. การติดตั้งแบบนี้เหมาะสำหรับการเริ่มขี่จักรยานกับเด็กเพราะ เห็นพฤติกรรมเด็กได้ชัดเจน คุยกับเด็กได้สะดวก การขี่ทรงตัวได้ดีขี่ง่ายกว่าที่นั่งที่ติดด้านหลัง แต่ เนื่องจากติดด้านหน้า ขณะขี่อาจเกิดอาการเข่าชนที่นั่งเด็กได้ ท่าขี่จึงต้องแบะเข่าเพื่อหลบการกระแทกในบางจังหวะ

ที่นั่งเด็กติดตั้งด้านหลัง (rear mount)

ที่นั่งเด็กติดตั้งด้านหลัง (rear mount) ใช้กับเด็กได้ในช่วงกว้างกว่า เริ่มตั้งแต่อายุ 9-12 เดือน (นั่งได้ดีและคอแข็งแล้ว) จนถึงน้ำหนัก 22 kg ส่วนมากมีดีไซน์ที่ใหญ่ขึ้น พนักสูงขึ้น หัวพิงได้ นั่งสบาย แต่จะไม่เห็นพฤติกรรมเด็ก จริงๆเหมาะกับเด็กที่เริ่มพูดได้พอรู้เรื่องหรือเริ่มช่วยตัวเองได้บ้างแล้ว

***ที่นั่งเด็กติดจักรยาน แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นนั้นมีการรับน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรศึกษาข้อมูลความปลอดภัยของสินค้าแต่ละตัวให้ละเอียด และไม่ควรใช้งานเกินขีดจำกัดของสินค้านั้นๆ


2. วิธีติดตั้ง และการเตรียมจักรยาน

หลังจากได้ประเภทของที่นั่งเด็กที่เหมาะสมแล้ว ต้องดูรายละเอียดของการติดตั้งว่าติดยึดกับส่วนใดของจักรยาน ว่าจะสามารถติดได้จริงหรือไม่ พอดีหรือไม่ หรือติดปัญหาอย่างไรบ้าง อาจต้องลองตอบคำถามเหล่านี้

ที่นั่งเด็กติดตั้งด้านหน้า (front mount)

แบ่งเป็นที่นั่งติดแบบจับที่สเต็มคอจักรยาน (stem mount) ออกแบบให้ที่นั่งเด็กหมุนตามการเลี้ยวของรถ เพื่อการเลี้ยวที่สะดวก แฮนด์ไม่ติดที่นั่งหรือตัวเด็กขณะเลี้ยว และ ที่นั่งแบบจับกับเฟรมจักรยาน (frame mount)ไม่ว่าจะจับที่เฟรมท่อหน้า (head tube) หรือท่อตั้ง (หรือหลักอาน, seat tube) ตัวเก้าอี้เด็กก็จะไม่หันตามการเลี้ยว ทั้งสองวิธีต้องมีอุปกรณ์ตัวยึดกับส่วนของจักรยาน ซึ่งมีขนาดและความหนาตามการออกแบบของที่นั่งเด็กแต่ละยี่ห้อ

Q: ที่นั่งเด็กแบบจับที่คอ (stem mount) คอจักรยาน (สเต็ม, Stem) เป็นแบบไหน? เป็นแบบคอจุ่ม/เสียบ (threaded headset) หรือ คอจับ (threadless headset)
A: เตรียม adaptor ให้ตรงกับประเภทของคอจักรยาน แต่ละแบบจะใช้อุปกรณ์การยิดที่ไม่เหมือนกัน

headset type for bike child seat mount การติดตั้งที่นั่งเด็กที่สเต็มคอจักรยาน 2 รูปแบบ คือแบบ threadless (คอหนีบ) และ threaded (คอเสียบ)

Q: ขนาดของ adaptor สามารถนำไปติดที่ตัวจักรยานได้หรือไม่ เช่นความหนาและความสูงของ adaptor
A: ต้องมั่นใจว่าสามารถติดตัวยิดได้ และไม่ทำให้เก้าอี้นั้นกวนระบบของรถ เช่นขัดกับส่วนที่หมุนต่างๆ หรือสายต่างๆ

Q: เมื่อติดตัวยึด หรือเก้าอี้แล้ว มีความแน่นหนา แข็งแรง และปลอดภัยหรือไม่
A: ส่วนประกอบทั้งหมดจะต้องแข็งแรง ไม่ลื่นหลุดโดยง่าย เกิดจากความพอดีกันของตัวยึดและตำแหน่งยึด

Q: ระยะที่นั่งและคนปั่นใกล้เกินไปหรือไม่
A: ต้องตรวจสอบว่าหลังติดตั้งที่นั่งแล้ว ผู้ขี่ต้องสามารถขี่ได้ ต้องไม่เกิดความลำบากจนไม่สามารถปันได้ ทั้งระยะจากที่นั่งเด็กถึงแฮนด์ และการจับแฮนด์

Yepp, bike child seat front mount การติดที่นั่งเด็กด้านหน้าด้วยการยึดแบบจับสเต็มคอ ที่นั่งจะหมุนตามแฮนด์เวลาเลี้ยว และมีระยะจากที่นั่งกับผู้ขี่ สามารถปั่นได้อย่างปลอดภัย

ที่นั่งเด็กติดจักรยานด้านหลัง (rear mount)

ก็สามารถแบ่งเป็นการติดได้อีก 2 ประเภทคือ ติดกับเฟรมท่อตั้ง (หลักอาน หรือ seat tube) ด้วยขาพิเศษที่มาพร้อมกับชุดเก้าอี้เด็ก และแบบที่ติดบนตะแกรงหลัง หรือ rack จักรยานเดิม รวมไปถึงประเภทที่ทำเป็น build-in มาทั้ง rack พร้อมติดตั้ง

Q: อุปกรณ์จับยึดของแบบจับเฟรมหลักอาน สามารถติดตั้งได้หรือไม่
A: เฟรมจักรยานจะต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์จับยึดของชุดที่นั่งเด็ก

Q: อุปกรณ์จับยึดรบกวนระบบต่างๆของจักยานหรือไม่ เบียดหรือทับส่วนอื่นของจักรยานหรือไม่
A: ตรวจสอบตามตำแหน่งที่จับยึด อย่างให้มีอะไรกีดขวาง หรือทับการทำงานของกลไกต่างๆ

Q: การติดดตั้งบน rack จักรยานเดิม สามารถวางเก้าอี้เด็กข้างบนได้หรือไม่ หรือต้องการเสริมอะไร
A: ตรวจสอบความแข็งแรงของ rack, spec ของ rack เช่นการรับน้ำหนัก และวิธีการติดที่นั่งเด็กลงไป และที่นั่งบางรุ่นที่ทำมาให้ถอดใส่ได้ง่ายอาจต้องการ seat adaptor โดยเฉพาะเป็นต้น

Q: ที่นั่งแบบ rack build-in สามารถติดลงบน(เฟรม)จักรยานได้มั๊ย
A: การติดที่นั่งแบบ build-in เหมือนการติด rack ธรรมดาทั่งไป ต้องดูว่า rack ที่นำมาติดมีวิธียึดอย่างไร มีลักษณะขาอย่างไร ยึดอย่างไร ความสูงสามารถปรับได้ตามตัวจักรยานและล้ออย่างไร และที่สำคัญจุดรูยึดบนจักรยานสัมพันธ์กับการยิดของแร็คต้องพอดี หลังติดต้องอยู่ในระนาบตรง

Q: เมื่อติดอุปกรณ์และที่นั่งเด็กแล้วสามารถขี่ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
A: ตรวจสอบและทดลองขี่ และปรับแต่งให้สามารถขี่ได้อย่างปลอดภัย

ดังนี้ คุณสามารถทำการประเมินเบื่องต้นว่าจักรยานสามารถรองรับกาบการติดตั้งแบบไหน หรือควรจะติดตั้งแบบไหนให้เหมาะกับจักรยานของคุณ

คำแนะนำ: ควรปรึกษาและสอบถามจากช่างจักรยานที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งที่นั้งเด็ก ในรายละเอียดต่างๆ เช่น spec, ความถูกต้อง, ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับความไม่พอดีและการดัดแปลงที่จำเป็น และถามหาการทดลองติดตั้งก่อนทำการซื้อเพื่อความมั่นใจ


3. เลือกที่นั่งเด็กด้วยคุณสมบัติต่างๆที่ควรพิจารณา

ตำแหน่งที่ติดตั้ง Front vs Rear

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในขั้นต้น ตำแหน่งที่ติดตั้งแบ่งได้ 2 แบบคือ ที่นั่งเด็กติดด้านหน้า (front mount) และติดด้านหลัง (rear mount) แบบติดด้านหน้าที่นั่งจะมีขนาดเล็กกว่า รับน้ำหนักได้น้อยกว่า แต่อยู่ด้านหน้าก็จะสามารถดูแลเด็กได้ดี ซึ่งทั้งสองแบบนั้นมีรายละเอียดการติดตั้งต่างกันไปอีกหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจักรยานที่จะนำไปติดด้วย

และจากประสบการณ์การขี่แบบติดด้านหน้าจะขี่ได้ง่ายกว่า สมดุลดีกว่าแบบติดด้านหลังซึ่งต้องอาศัยความคุ้นกับน้ำหนักและความแกว่งที่มากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากน้ำหนักเด็กที่มากขึ้นด้วย แนะนำให้ขี่อย่างระมัดระวังและฝึกซ้อมด็จะเกิดความคุ้นชินและมั่นใจมากขึ้น

อายุและขนาดตัวของเด็ก

ที่นั่งเด็กติดจักรยานด้านหน้า โดยทั่วไปสามารถเริ่มให้เด็กเล็กตั้งแต่ 9 เดือน(ที่มีความพร้อมนั่ง) นั่งได้จนถึง 3 ขวบหรือน้ำหนักไม่เกิน 15kg เพราะที่นั่งมีขนาดเล็ก(เล็กกว่าติดด้านหลัง) แต่ข้อดีคือเห็นเด็กตลอดและสามารถสื่อสารกันได้ง่ายกว่า

ที่นั่งเด็กติดจักรยานด้านหลัง เก้าอี้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีพนักพิงที่สูง วิธีติดก็แข็งแรง รองรับน้ำหนักได้เยอะขึ้น จึงเหมาะสำหรับเด็กเล็กตั้งแต่ 9 เดือน (จริงๆแล้วควรเป็นเด็กที่นั่งได้ดี หรือ 1 ขวบ) จนถึงเด็ก 5 ขวบ หรือมีน้ำหนักไม่เกิน 23 kg แต่จะมองไม่เห็นขณะขี่

คำแนะนำ: เด็กแต่ละคนอาจมีความพร้อมไม่เท่ากัน ดังนั้นควรคำนึงถึงความพร้อมของเด็กเป็นหลัก หรืออาจปรึกษาหมอประจำตัวในการเริ่มให้ใช้ที่นั่งเด็กเพื่อความมั่งใจและปลอดภัย

ความแน่นหนาของสายรัด และการปรับขนาดตามตัวเด็ก

สายรัดช่วยให้เด็กอยู่ติดกับที่นั่งอย่างปลอดภัย สายรัดที่ดีควรจะกดตัวเด็กไว้กับที่นั่งได้ในทุกสถานการณ์ ระบบที่ดีคือเข็มขัดนิรภัย 5 จุด คือพาดไหล่และหน้าขาทั้งสองข้างเหมือนในที่นั่งเด็กติดรถยนต์ โดยต้องปรับความพอดีได้ด้วยการดึง (pull to tighten) และตัวล็อคต้องแข็งแรงซึ่งเด็กต้องไม่สามารถถอดเองได้ ระบบที่ไม่ควรใช้คือ ใช้สายรัดเอวหรือรัดลำตัวเพียงอย่างเดียวเพราะเวลากระแทกหรือกระดอนจะทำให้เด็กหลุดจากเก้าอี้ได้ และไม่ควรใช้สายที่ดึงหดกลับเองได้ (rethread to tighted) เพราะจะยืดออกได้ง่ายจากแรงดึงหรือแรงกระแทกเป็นต้น

นอกจากปรับสายรัดให้แน่นพอดีแล้ว ที่นั่งเด็กควรสามารถปรับสายรัดให้ตามความสูงของเด็กได้ด้วย ระดับสายรัดไหล่ควรเลื่อนขึ้นเมื่อเด็กตัวสูงขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาการเลื่อนหลุดขณะรัด

รูปทรงของที่นั่ง

แบบพนักพิงสูง vs พนักพิงต่ำ วัดกันตรงระดับไหล่ ที่นั่งพนักสูงจะรองรับเต็มทั้งแผ่นหลัง นั่งพิงได้สบาย โดยเฉพาะตอนเผลอหลับ ระดับสายรัดจะสูงป้องกันการหลุดง่าย ซึ่งแบบพนักต่ำจะตรงข้ามกัน

มีที่สำหรับหมวก เรามักจะให้เด็กใส่หมวก (helmet) เวลานั่งในที่นังเด็ก และเนื่องจากหมวกจักรยานมีความหนา ทำให้นั่งพิงไม่ได้เต็มที่เพราะติดหมวก ที่นั่งเด็กบางยี่ห้อจึงคำนึงถึงข้อนี้และมีการดีไซน์ที่รองรับกับหมวกเช่น รูปทรงเป็นช่องเว้า หรือรูปทรงที่พนักเอียงมากขึ้นเป็นต้น

ความนุ่มนวล และความยืดหยุ่น

ความแข็งกระด้างและการกระแทก เกิดผลโดยตรงกับความสบายในการนั่ง ที่นั่งเด็กควรนั่งสบายและมีความนุ่มนวลพอตัว ลดการกระแทกที่จะเกิดกับเด็ก การเลือกใช้งานที่นั่งแบบจับเฟรมหลักอาน (seat tube) จะได้เปรียบเรื่องความยืดหยุ่นของอุปกรณ์ขาจับซึ่งรับแรงกระแทกไปในตัว นอกจากนั้นมีปัจจัยอื่นๆเช่น วัสดุในการทำตัวที่นั่งเช่น จากโฟมยาง ก็มีวามารถรับการกระแทกได้ดี บางดีไซน์อาจมีโช้คสปริงค์ใต้ที่นั่งเพื่อลดการกระแทกเป็นต้น

ที่วางเท้าแบบปรับความสูงได้

ที่วางเท้าให้ทั้งความสบายและความปลอดภัยในการนั่ง ซึ่งต้องปรับได้ให้พอดีกับความสูงเด็ก วางเท้าและขาต้องไม่ห้อยหรือตั้งชันเกินไปเพื่อความสบาย และต้องมีที่รัดและที่บังเท้าไม่ให้เกิดอุบัตเหตุเท้าเข้าไปถูกับล้อจักรยาน เป็นต้น

อุปกรณ์เสริมสำหรับที่นั่งเด็กด้านหน้า

สำหรับที่นั่งด้านหน้า มือจับเป็นอุปกรณ์เสริมที่ดี เพราะเด็กเล็กต้องการจับอะไรซักอย่างให้รู้สึกมีหลักเพื่อความมั่นใจ และรู้สึกปลอดภัย เพราะถ้าเค้าไม่มีอะไรจับเค้าก็จะคว้ามือคุณหรือจับแฮนด์ร่วมกับคุณนั่นเอง

ถอดออกและติดตั้งได้ง่าย เป็นแบบ quick release และมี lock

ที่นั่งเด็กติดจักรยานที่ถอด-ใส่ได้ง่าย และไม่ต้องอาศัยเครื่องมือใดๆเป็นตัวเลือกที่ดีมาก (เช่นระบบ quick release) ใช้งานง่ายและสะดวก ถอดที่นั่งเก็บเมื่อไม่ต้องการใช้ แยกจักรยานไปขี่ใช้ได้ทั่วไป และง่ายต่อการขนย้ายจักรยานไปขี่ที่ต่างๆ โดยชุดที่นั่งแยกเป็น 2 ส่วนคือตัวที่นั่งและ adaptor ที่จะติดอยู่กับตัวจักรยาน ซึ่งควรมีระบบล็อกที่นั่งกับตัวจักรยานเพื่อป้องกันการศุนย์หาย

Yepp, child seat quick release system ที่นั่งเด็กแบบถอดจากตัวจักรยานได้ แบบ Quick release เพื่อความสะดวกในการใช้งานและขนย้าย