วิธีเลือกจักรยานที่เหมาะสม
จักรยาน 15 ประเภท เลือกให้เหมาะสำหรับตัวคุณ
เรารวมเอา คุณสมบัติและ จุดเด่นในการใช้งาน ข้อดี ข้อด้อย ของจักรยานประเภทต่างๆที่เป็นที่นิยมมาให้ลองตัดสินใจ ว่าจักรยานคันใหม่ของคุณจะไปเป็นประเภทไหน
อะไรมันจะเยอะแยะไปหมด!
ลองตั้งคำถามเหล่านี้แล้วค่อยๆเริ่มหาจักรยานที่ใช่สำหรับตัวคุณ
- จะขี่กับใคร?
- แล้วพวกเค้าขี่จักรยานประเภทอะไรกันอยู่?
- ชอบอะไรในรถคันเก่า?
- ไม่ชอบอะไรในจักรยานคันเก่า?
- จะไปขี่ที่ใหนเป็นส่วนใหญ่?
ถ้าต้องเลือกจักรยานไปขี่กับกลุ่มเพื่อน เราแนะนำให้หาจักรยานประเภทเดียวกันกับเพื่อนคุณ เพราะมันจะดีที่สุดที่จะขี่ไปด้วยกันได้ คุณจะไม่สามารถขี่จักรยานพับตามจักรยานเสือหมอบได้ทันใน skylane อย่างแน่นอน
หรือถ้า การขี่ทำความเร็วไม่ใช่โจทย์ของคุณ ไม่ชอบท่าก้มขี่กับแฮนด์ drop ของจักรยานเสือหมอบ อาจจะหันมาสนใจจักรยานที่ขี่สนุก หรือที่ขี่สบายกว่า เป็นต้น
เรารวมเอา คุณสมบัติและ จุดเด่นในการใช้งาน ข้อดี ข้อด้อย ของจักรยานประเภทต่างๆที่เป็นที่นิยมมาให้ลองตัดสินใจ ว่าจักรยานคันใหม่ของคุณจะไปเป็นประเภทไหน ซึ่งในปัจจุบันการดีไซน์ที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย รวมถึงอุปกรณ์ที่จัดแยกประเภทอย่างละเอียด ก็ทำให้จักรยานแยกใช้งานตามจุดประสงค์ต่างๆกัน และส่งผมถึงความรู้สึกในขณะขี่ได้จริง เรามาลองดูกัน
จักรยานเสือหมอบ (Road Bikes)
ดีไซน์หลักของ road bike ถูกออกแบบมาให้ขี่ได้เร็ว บนถนนผิวเรียบ เน้นขี่ทำความเร็ว ใช้แข่งขันทางความเร็ว ท่าขี่จะก้มตัวมาก ใช้พลังเยอะเวลาขี่ โดยมีแฮนด์โค้งลงตามชื่อลักษณะ”หมอบ" หรือเรียกว่า “drop handlebar” และจะเลือกใช้ยางหน้าแคบเพื่อลดแรงเสียดทาน วัสดุตัวเฟรมปัจจุบันทำด้วย fiber carbor หรือ light weight aluminum เพื่อลดภาระการแบกน้ำหนัก แต่จักรยานประเภทนี้ไม่เหมาะเลยกับทางที่ไม่เรียบ แม้เพียงเล็กน้อย จะขี่ไม่สบาย มีความสะเทือนสูง มีความเสื่ยงเสียหายจากตกหลุม หรือถนนไม่เรียบ และไม่เหมาะกับการมีสัมภาระใดๆ
ตามหาจักรยานขี่สบายๆ?
จักรยาน tokyobike คือจักรยานขี่สบาย รูปทรงคลาสสิก วินเทจ ขี่ง่าย เหมาะสำหรับขี่ในเมือง หรือขี่ออกกำลังกายเบาๆ มีทั้งรุ่นคานตรง และคานเฉียงเหมาะสำหรับผู้หญิง
ดูจักรยานรุ่นต่างๆของ tokyobikeจักรยาน Cyclocross Bikes
มันคือรุ่นย่อยของ road bike ใช้แฮนด์ดรอปเหมือน road bike ทั่วไป แต่ออกแบบให้ลุยได้มากกว่า สามารถวิ่งได้หลายพื้นผิว พื้นเรียบ พื้นปูนทรายขรุขระ กรวด และหญ้า ด้วยยางที่หน้ากว้างกว่า หนากว่า มีดอกยาง และลุยได้มากกว่า (แน่นอน มันต้องหนักกว่าและฝืดกว่า) วัสดุเฟรมอาจใช้วัสดุที่แข็งแรงที่รับแรงกระแทกได้มากกว่า เช่น chromoly หรือ titanium และอาจเห็นระบบเบรกที่ต่างออกไป เพราะต้องเจอกับความสกปรกจากดินโคลนในทาง off-road ได้ (เราอาจได้ยิน cross bike หรือ cx bikes ก็คือ cyclocross เช่นกัน)
จักรยานทัวริ่ง (Touring Bikes)
เป็นอีกประเภทของ road bike ที่เน้นออกแบบให้จักรยานสามารถใช้ขี่เพื่อเดินทางระยะไกล บรรทุกสัมภาระเพื่อค้างแรม และเดินทางต่อเนื่องหลายๆวัน จักรยานที่มีความทนทานสูง ชิ้นส่วนต่างๆถอด service เองได้ระหว่างทาง ระบบเกียร์จะมีอัตราทดเบาและกว้างกว่าจักรยานเสือหมอบทั่วไป รองรับการเดินทางผ่านทางชัน ตัวจักรยานแข็งแรง ออกแบบให้แบกน้ำหนักได้มาก ติดอุปกรณ์ได้มาก เช่นติดแร็ค แขวนกระเป๋า ติดบังโคลน มีจุดยึดอุปกรณ์หลายจุด รูปทรงของเฟรมอาจออกแบบให้ขี่ได้ผ่อนคลาย ท่าทางตั้งตัว และระดับแฮนด์จะยกสูงกว่า road bike และเฟรมดีไซน์ให้ระยะระหว่างล้อยาวขึ้นเล็กน้อยเพื่อความเสถียรในทางตรง ลดความหน้าไว
จักรยาน Adventure Road Bikes
ถูกจัดเป็นจักรยานประเภทใหม่ โดยออกแบบมาให้ใกล้เคียงทั้งรูปทรงและการใช้งานกับ cyclocross คือเป็น all-road bikes หรือ any-road bikes ลุยได้ แต่ออกแบบเฟรมให้จักรยานยาวขึ้น และท่าขี่ตัวตั้งขึ้นมากกว่า cx เล็กน้อย เพื่อให้มีความสบาย รองรับการขี่ที่นานขึ้น ขี่ได้ทั้งวัน หรือเป็น light touring bikes
จักรยาน Triathlon/Time Trial Bikes
TT เป็นจักรยานที่เน้นความ aerodynamic เพื่อขี่ได้รวดเร็วที่สุด ด้วยรูปแบบและท่าขี่ก้มและยืดตัวไปข้างหน้ามากๆ ลดแรงปะทะของลม เพื่อต้องการความเร็วสูง จะใช้ขี่ในทางราบและเรียบ ไม่มีอุปสรรคบนถนน ระบบเกียร์จะทดให้เร็วที่สุด แต่จะหนักมากในตอนออกตัว เน้นความลื่นไหลในความเร็วปลาย จะว่าเป็นรถจักรยานที่ก้มหน้ากมตาปั่นทำเวลากันอย่างเดียวก็ว่าได้
Fitness Bikes
เป็นจักรยานที่เอาข้อดีของ road bikes คือเฟรมเบา ยางหน้าแคบ ขี่ได้เร็วดี แต่ใช้แฮนด์ตรง (“flat hanndlebar”) หรือ แฮนด์ยกเล็กน้อย (“upright handlebar”) ใช้ขี่บนถนนเรียบ เป็นทางเลือกสำหรับคนชอบขี่จักรยานเร็วแต่ไม่ชอบแฮนด์ตรอป หรือจะเลือกใช้หน้ายางกว้างหน่อยเพื่อขี่ที่ถนนขรุขระขึ้นก็ได้ เราอาจเรียกว่า flat-bar road bikes หรือ performance hybrid bikes
Fixed-Gear/Track Bikes
จักรยานฟิกเกียร์ หรือ “Fixies” ใช้เพื่อแข่งความเร็วในสนามวงรี velodrome หรือเห็นได้บ่อยที่นำมาเป็นจักรยานเดินทางในเมืองของกลุ่มนักปั่นบางกลุ่ม จักรยานถูกออกแบบมาให้มีความ simple ไม่ติดอุปกรณ์ใดๆ ทำให้ไม่ต้องดูแลมาก มีเฟืองที่มีอัตราทดเดียว (จะเรียกว่า ไม่มีเกียร์ ฟิกเกียร์ หรือ ซิงเกิ้ลสปีด ก็ได้) จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการควงขา เฟืองเป็นระบบที่ไม่สามารถปล่อยขาได้ ชุดบันไดจะหมุนไปเรื่อยๆตามล้อหมุน จะเบรกก็ต้องฝืนขาทำให้ล้อหยุดหมุนไปด้วย ทำให้นิยมที่จะไม่มีเบรก และในบางประเทศไม่ให้จักรยานฟิกเกียร์วิ่งตามถนน เนื่องจากเกิดอันตรายบ่อย
Mountain Bikes
“MTB" ดีไซน์มาเพื่อขี่ในทาง off-road พื้นผิวขรุขระ มีแฮนด์ทรงตรงหรือยกเล็กน้อย มีอัตราทดเกียร์ที่ต่ำมาก ใช้สำหรับขึ้นทางชัน ยางหน้ากว้าง มีดอกยางใหญ่เพื่อช่วยตะกุยพื้นผิวที่ขรุขระ ยางนิ่มรับแรงกระแทก โดยส่วนมากจะมีโช้คมาช่วยรับแรงกระแทกด้วย จักรยานที่มีโช้คหน้าจะเรียกว่า “hardtails” และจักรยานที่มีโช้คหน้าและหลังเรียกว่า “full-suspension” และ mountain bike ที่ไม่มีโช้คจะเรียกว่า "rigid” แต่มีหลายคนที่นำเอา mountain bike มาใช้กับทางเรียบแบบอื่นๆก็ได้ แต่จะรู้สึกว่าช้า กินแรง และยวบเกินไป
Hybrid Bikes
จักรยาน “ไฮบริด” กะจะเอาข้อดีของ road bike และ MTB เข้าไว้ด้วยกัน จะออกแบบเพื่อความสบายกว่า road bike จะใช้แฮนด์ตรงหรือแฮนด์ยก ไม่ต้องขี่ท่าก้มต้ว เบาะกว้างเน้นสบาย แต่ไม่เน้นความเร็วเท่า road bike แต่เน้นครอบคลุมการใช้งานของชุดเกียร์ที่มีขนาดกว้างเหมือน road bike จนถึง mountain bike แต่ก็ไม่สามารถลุยทางขรุขระได้เท่า MTB เพราะเลือกใช้ยางขนาดปานกลางและดอกยางที่เรียบกว่า และอาจจะเห็นบางรุ่นใส่โช้คหน้าได้เช่นกัน
จักรยาน hybrid จะไม่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในการขี่ จะพยามมีข้อดีของทั้งสองประเภทที่ต่างกันขั้วกันมากเข้าดัวยกัน ทำให้การใช้งานช่วงระหว่างกลางนั้นไม่ smooth เท่าไหร่
Dual-Sport Bikes
เป็นประเภทไฮบริด ที่ปรับปรุงขึ้นมาให้มีการใช้งานทางแนวสปอร์ตชัดเจนขึ้น เน้นการขี่ที่สปอร์ตลุยๆ ใกล้ mountain bike มากกว่า ลุยได้มากว่าด้วยขนาดเฟรมและใส่ยางลุยเข้าใกล้ mountain bike และสวนมากมีโช้คหน้า แต่ก็ยังอยากที่จะทำให้จักรยานนั้นวิ่งบนถนนเรียบได้ดีกว่า MTB แท้ๆ
Cruiser Bikes
จักรยานสไต์ ครูชเชอร์ เน้นนั่งขี่สบาย เบาะกว้าง ชมวิว ท่าขี่หลังตรง เบาะเยื้องไปด้านกลัง ยางใหญ่อ้วนซับแรงได้ดี ใช้กับถนนเรียบเท่านั้น โดยดั่งเดิมจะใช้ระบบเกียร์ในดุมหลัง ซึ่งอาจมากที่สุดแค่ 3 สปีด และใช้ระบบเบรกหลังภายในดุมแบบถีบถอยหลัง โดยส่วนใหญ่ใช้ขี่เล่นชิวๆ ใกล้ๆ เท่านั้น คนที่ไม่คุ้นกับทรงและระบบเบรกและเกียร์ จะรู้สึกขี่ยาก
มีจักรยานประเภทย่อยของ cruiser อีกประเภทเรียกว่า Flat-Foot Comfort Bikes เน้นการใช้งานทั่วไปในเมืองมากว่า cruiser แต่นำเอา design ตำแหน่งของเบาะที่เยื้องไปทางด้านหลังและต่ำลงมาอีกนิด ทำให้ผู้ขี่วางขากับพื้นได้สะดวกเมื่อหยุดปั่นเพราะระยะบันไดปั่นกับพื้นห่างกันเพียงนิดเดียว แต่ยังมีระยะยืดขาได้เต็มที่เหมือนเดิม ดีไซน์นี้เริ่มเป็นที่สนใจในการนำไปพัฒนาออกแบบเป็นจักรยานไฟฟ้าใช้ในเมืองต่อไป
City Bikes
ซิตี้ไบค์ ไม่เชิงจะเป็นประเภทของจักรยาน แต่เป็นรูปแบบการใช้งานในเมืองมากกว่า หรืออาจใช้คำว่า “urban bikes” หรือ “commuter bikes” ก็ได้ แต่มีผู้ออกแบบและอยากผลิตจักรยานให้ตอบโจทย์กับการใช้งานประเภทนี้โดยเฉพาะ ตาม lifestyle คนเมือง ซึ่งลักษณะการใช้งานจักรยาน อุปกรณ์ต่างๆ และความต้องการเฉพาะทางของคนเมือง ใช้งานได้แก่
- ผู้ใช้งานเป็นทั้งผู้ชายและผู้หญิง
- ขี่ง่าย ขี่สบาย ขี่แล้วไม่เหนื่อยกับการขี่มากเกินไป ขี่ได้ปลอดภัย
- ใส่ชุดแต่งกายปรกติ ในชีวิตประจำวัน ไม่จะเป็นต้องเป็นชุดกีฬา
- ท่าขี่ส่งเสริมให้ทัศนวิสัยดี ขี่ได้ปลอดภัย
- สภาพการที่ต้องหยุดและวิ่งบ่อยๆ ขี่บนถนนเรียบ แต่ลุยหลุมได้บ้าง
- บังโคลน บังโซ่ บังกระโปรง
- ใส่สัมภาระได้ เช่นมี rack แขวนกระเป๋า ตะกร้าใส่ของ
- ใช้งานบ่อย ขี่ได้ทุกวัน ทนทาน และ low maintenance
ตัวอย่างปัจจัยในการออกแบบรถจักรยานขี่ในเมือง ที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงและนำไปพัฒนาจักรยาน ดีไซน์รูปทรง อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงความรู้สึกในการขี่ เป็นต้น
Tokyobike is City Bike
จักรยาน tokyobike จักรยานแบรด์ญี่ปุ่น ที่ออกแบบมาเพื่อขี่ในเมือง ขี่เล่นออกกำลังกาย มีดีไซน์มินิมอล คลาสสิก เข้ากับ lifestyle และการใช้งานในเมือง
Explore all city bike modelsFolding Bikes
รถพับ ออกแบบให้พับได้ เพื่อสะดวกในการขนย้ายด้วยพาหนะแบบอื่นๆได้ง่าย เช่นใส่รถยนต์ แบกขึ้นรถไฟ เพื่อนำไปขี่ต่อในระยะใกล้ๆ เช่นเดินทางจากที่จอดรถสาธารณะไปที่ทำงานเป็นต้น รถพับจะมีขนาดเล็ก ล้อขนาดเล็ก เก็บได้สะดวก แต่สิ่งที่เป็นข้อด้อยของรถพับคือ ล้อที่เล็กทำให้ขี่ยากกว่าปรกติ หน้าไวควบคุมยากขึ้นหน่อย จุดพับที่ทำไม่ดีจะมีการสึกหรอง่าย ทำให้รถสั่นคลอนภายหลังจากการใช้งานได้ซักระยะหนึ่ง และอาจซ่อมบำรุงไม่ได้หรือไม่คุ้มซ่อม
Fatbike
"fat-tire bike” จักรยานยางใหญ่ ใช้งานพื้นผิวทาง off-road แบบพื้นนิ่ม เช่น ทราย หิมะ โคลนหรือเลน ยางขนาดใหญ่ที่เติมลมน้อย (5psi - 10psi) จะทำให้สามารถขี่ไปได้ในพื้นผิวแบบนี้ เฟรมจะมีกว้างพิเศษรองรับขนาดล้อและยางที่ใหญ่ เกียร์จะทดให้เบามากๆกับสภาพการขี่ แต่ไม่เหมาะกับถนนแข็งเพราะจะกินแรงจากขนาดยางและอัตตราทดเกียร์ ในประเทศไทยเราอาจเห็นนำมาขี่เล่นเพื่อความสนุกกันในพื้นที่ off-road หรือสนามป่าเขา ไม่เน้นความเร็วเลย แต่เน้นลุยสนุก
สรุป
จักรยานได้มีการออกแบบแยกประเภทให้ใช้ได้ดีที่สุดตามรูปแบบการใช้งาน จึงได้มีจักรยานหลายประเภทในปัจจุบัน ผู้ที่กำลังเลือกจักรยานอาจต้องรู้ความต้องการของตัวเองมาบ้าง หรือตั้งคำถามไว้ในใจว่าต้องการอะไรเป็นหลัก ตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ออกไป เพราะนอกจากที่คุณจะต้องเลือกประเภทของจักรยานแล้ว คุณยังต้องไปเจอรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละประเภท ทั้งหน้าตา ทั้งราคาที่หลากหลายอีก